logo 01

สมาคมคุรุสัมพันธ์อิสลามแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ-ความเป็นมาและผลงาน

                    ในตอนเริ่มแรกก่อนที่จะเกิดเป็น สมาคมคุรุสัมพันธ์ บรรดาเพื่อนครูที่สอนวิชาการศาสนาอิสลามภาคฟัรดูอัยน์ ซึ่งศึกษามาจากสำนักเดียวกันคือ โรงเรียนอันยุมันอิสลาม โดยท่านอาจารย์ต่วน สุวรรณศาสน์  เป็นผู้อำนวยการสอน ต่างก็สอนไปตามความพอใจของแต่ละท่าน แล้วแต่จะคิดค้นหาวิธีสอนมาใช้เฉพาะตน  หรือจากตำราเล่มหนึ่งเล่มใดที่พอใจนำมาเป็นตำราสอน  แต่ก็มิได้มีตำราที่เหมาะกับเด็กมุสลิมไทย ที่จะศึกษาให้ เข้าใจได้เร็วและปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามที่ศาสนากำหนดบังคับไว้ ด้วยเหตุนี้ ปูชนียบุคคลหลายท่าน จึงเข้ามาร่วมกันวางรากฐานการศึกษาให้ เช่น ท่านอ.ประเสริฐ มะหะหมัด, อ.มานิต เกียรติธารัย, อ.สุดใจ วงษ์อารีย์, อ.อับดุลลาตีฟ  บุญรอด, อ.ชาฟีอี  วันแอเลาะ, อ.อะห์หมัดชีฮาบุดดดีน  บินซอและห์, อ.ซอและห์  ศรีวิเศษ,       อ.อับดุรเราะห์มาน  หมัดเซ็น, อ.มูซา  ฮานาฟี, อ.อาบีดีน  วิทยานนท์,  อ.มูฮัมหมัด  กอดีรี, อ. อิสมาแอล  โซ๊ะเฮง  อ.อรุณ  พิทยายน, อ.สมาน มีมูซอ, อ.สันต์ วงศ์อุปถัมภ์ และอ.สวาสดิ์  สุมาลยศักดิ์ (หรืออะห์ลุ้ลฟัตวา)  พ.ศ.2497  จึงได้จัดกลุ่มเอาจริงเอาจังขึ้น  ว่าจะทำอย่างไรให้เยาวชนมุสลิมในประเทศไทย  ได้มีตำราเรียนเป็นอย่างเดียวกัน  ต่างก็ตกลงวางหลักการศึกษาแต่ละชั้นไปตามวัยของเด็กคือ  ชั้นปีที่ 1 – 4  เหตุที่เพื่อนครูต้องวางหลักเกณฑ์การศึกษาให้ง่าย  ให้เด็กเรียนรู้ได้เร็ว  เสียเวลาเรียนน้อย  ก็เพื่อปรารถนาจะให้เด็กได้มีโอกาส  และมีเวลาเรียนวิชาการศาสนา ให้มีความรู้ มีความสามารถ ปฏิบัติศาสนกิจได้ถูกต้องตามที่ศาสนากำหนดบังคับไว้   อีกทั้ง  เด็กจะได้มีเวลาเรียนวิชาสามัญ  ให้มีความรู้ความฉลาด  ทันกับสังคมและเหตุการณ์ของโลก  หรือเด็กที่เรียนวิชาสามัญอยู่  ก็เรียนวิชาการศาสนาได้  ไม่เป็นอุปสรรคกับการเรียน  ไม่เบื่อต่อการเรียนวิชาศาสนา  หรือมีเวลาว่างเพียงเล็กน้อย  ก็สามารถเรียนให้รู้หลักศาสนกิจที่จำเป็นต้องปฏิบัติได้

                    พ.ศ.2498  จึงเริ่มวางหลักสูตรการเรียน  การสอน  พร้อมทั้งตำราเรียนขึ้น  เมื่อผลิตตำราออกมาแล้ว  ก็นำเสนอโรงเรียนต่างๆ โดยการจำหน่ายจ่ายแจก  ใครซื้อก็ขาย  ใครขอก็ให้  ใครไม่ใคร่เต็มใจใช้ตำรานี้ก็ ยัดเยียดให้  เพื่อปรารถนาที่จะให้เด็กได้เรียนวิชาการศาสนาอย่างเดียว  ใช้เวลาน้อย  แต่ได้ผลเร็ว  ที่ทำได้เช่นนี้ก็โดยได้รับการอุปการะจาก  บริษัท  มิตรมุขตารี  จำกัด

                    พ.ศ.2499 กับ 2 ปีผ่านไป  หลังการทดลองเรียนทดลองสอนและแก้ไขเนื้อหาสาระวิชาการแล้ว  จึงขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่อ  ที่ทำการกองตำรวจสันติบาล  กรุงเทพฯ  ได้ทะเบียนเลขที่  จ.585  สำนักงานตั้งอยู่เลขที่  26  ซ.แมนไทย  ถ.กรุงเกษม แขวงมหานาค  เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย  กรุงเทพฯ  วันที่จดทะเบียน  19 กันยายน 2500  ซึ่งคือบ้านของนายสมาน มีมูซอ  ผู้ก่อตั้งสมาคมฯ คนหนึ่ง  โดยมี  นายประชา  มุขตารี  เป็นนายกฯ ท่านแรก

                    พ.ศ.2500 เริ่มมีการจัดสอบปลายปีร่วมกันเป็นปีแรก มี 5 หน่วยสอบ โรงเรียนเข้าสอบ  15  โรงเรียน  มีนักเรียนเข้าสอบ  411 คน  สอบไล่ได้ 263 คน  คิดเป็น  65.58 %  เป็นปีที่นักเรียนสอบไม่ผ่านมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา เพราะทั้งครูและนักเรียน ต่างยังไม่ค่อยเข้าใจวิธีการสอนและสอบมากนัก แต่ต่อมาก็เริ่มดีขึ้นตามลำดับ จนเป็นที่ยอมรับทั่วไปแล้วว่า การเรียนวิชาการศาสนาตามหลักสูตรของสมาคมคุรุสัมพันธ์นั้น  เด็กเรียนรู้ได้เร็วและปฏิบัติได้ถูกต้อง

                   พ.ศ.2520 อ.มานิต  เกียรติธารัย  ได้รับการยอมรับจากสมาชิกให้เป็นนายกฯ ต่อจากนายกฯ คนก่อนโดยสมาคมฯ มีมติย้ายสำนักงานจากมหานาค ไปที่สำนักอภิธรรมอันยุมันอิสลาม บางรัก กรุงเทพฯ เพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างสมาคมฯ  หน่วยสอบ  และโรงเรียน

                    พ.ศ.2524  อ.สุดใจ วงษ์อารีย์  ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ โดยการยอมรับของสมาชิก  ซึ่งกิจกรรมสมาคมฯ ได้ขยายไปอย่างกว้างขวาง  เป็นการขยายตามการบุกเบิกของ อ.มานิต  เกียรติธารัย ที่ได้บุกเบิกไว้  เป้าหมายการขยายงานคือ มุ่งเผยแพร่กิจกรรมการเรียนการสอนสู่จังหวัดในภาคใต้ โดยมีหน่วยสอบที่ 18   จ.นครศรีธรรมราช  เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่

                    พ.ศ.2526  อ.มานิต  เกียรติธารัย กลับเข้ามาทำหน้าที่นายกฯ อีกสมัย หลังจากอ.สุดใจ  ขอพัก  และ อ.มานิต ได้ริเริ่มดำเนินการจัดร่างหลักสูตรและตำราเรียนชั้นปีที่ 5 เพื่อขยายโอกาสการศึกษาในระดับสูงต่อไป

                    พ.ศ.2528 อ.เกียรติ ท้วมประถม ได้รับการยอมรับจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ คนต่อมา  และงานที่ท่านนำมาสานต่อคือ  การจัดทำหลักสูตรการศึกษาชั้นปีที่ 5 และ 6  พร้อมจัดทำแบบเรียนครบทุกวิชาทุกชั้นเรียนจนมีการเรียนการสอนมาจนถึงปัจจุบัน และกิจกรรมสมาคมฯ ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง  จากเคยมีสนามสอบแห่งเดียวของจังหวัดต่างๆ แตกหน่อเป็นระดับอำเภอมากขึ้น  สามารถรองรับเยาวชนเข้าศึกษาเรียนรู้ในหลักสูตรสมาคมฯ ต่อไปได้

                    พ.ศ. 2540  อ.อรุณ วันแอเลาะ ได้รับฉันทามติจากสมาชิกฯ  เป็นนายกสมาคมคุรุสัมพันธ์  บริหารงานต่อมากับหลักคิดที่เป็นอิสลาม คือ ผู้นำของมวลสมาชิก ต้องหยิบยื่นประโยชน์แก่มวลสมาชิกให้มากที่สุด

                    10 ก.พ.2556 อ.อนันต์ วันแอเลาะ  ได้รับสัตยาบันยอมรับให้เป็นนายกคนที่  6  โดยมี อ.อรุณ บุญชม  เป็นผู้นำให้สัตยาบัน  เพื่อสานต่ออุดมการณ์ของ อ.อรุณ  วันแอลาะ  ผู้เป็นพี่ชายสืบต่อมา  

    • ปัจจุบัน / บริหารงานโดยกรรมการบริหาร สมัยที่ 32 (พ.ศ.2560-64) กรรมการบริหาร 29  ท่าน
    • ประกอบด้วย  9  เขตการศึกษา , 87  หน่วยสอบ  โรงเรียนในสังกัด 1,263  โรงเรียน , ครู  5,244  คน ,  นักเรียน  88,430 คน
    • กำหนดสอบปลายภาค ทำการสอบสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายน  ทุกปี
    • ที่มาของทุนการบริหารงาน ได้จากค่าบำรุงแบบเรียน, การจัดงานประจำปี, การบริจาค และการสนับสนุนจากภาครัฐ-เอกชน

ผลงานยุคนายกอนันต์ วันแอเลาะ

  1.   การประชุมสัมมนาในงานเขตการศึกษา ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย         กรรมการบริหารเขตการศึกษา กรรมการบริหารหน่วยสอบ บุคลากรทางการศึกษา และ    ครูผู้สอน กรรมการบริหารสมาคมฯ ร่วมเป็นวิทยากรและมอบนโยบายพร้อมรับฟังความ  คิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการบริหารกิจการของสมาคมฯ  ยกเว้นเขตการศึกษาที่    ๙ เนื่องจากยังไม่พร้อมดำเนินการ
    1. กำหนดให้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรผู้สำเร็จศึกษาชั้นปีที่ ๖ และพิธีตัมมัตอัลกุรอ่าน
    2. การจัด         กิจกรรมการคัดเลือกผู้แทนเขตการศึกษาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในงานประชุมใหญ่                 สามัญประจำปีของสมาคมฯ โดยสมาคมฯ จัดกรรมการตัดสินกิจกรรมในแต่ละประเภท
  2. จัดการอบรมเสริมประสิทธิภาพครูสอนอัลกุรอ่าน โดยสมาคมฯ สนับสนุนงบประมาณเป็นราย    หัวแก่ผู้เข้ารับการอบรม ยกเว้นเขตการศึกษาที่ ๙ ซึ่งยังไม่มีความพร้อม
  3. กำหนดให้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ ๔ ในงานของหน่วยสอบ
  4. เข้าร่วมการสัมมนาครูผู้สอนศาสนาอิสลามศูนย์อบรมจริยธรรมประจำมัสยิด จัดโดยกรมการ    ศาสนากระทรวงวัฒนธรรม สมาคมฯ ส่งวิทยากรร่วมบรรยายในวิชา เตาฮีด ฟิกฮ์ อัลกุรอ่าน
  5. เข้าร่วมในพิธีมอบประกาศนียบัตร ในทัณฑสถานบำบัดพิเศษ จังหวัดสงขลา 
  6. จัดพิมพ์ตำราเรียนฟิกฮ์มัซฮับฮานาฟี และตำราอื่นทุกชั้นปีเพื่อจำหน่ายแก่โรงเรียนในสังกัด       สมาคมฯ
  7. การบริหารจัดการงานทะเบียนสมาชิก หน่วยสอบ โรงเรียน ครู นักเรียนและทะเบียนทรัพย์สิน      โดยอาจารย์ฮูเซ็น  ซันและห์ ประจำฝ่ายทะเบียน   และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็น       รูปธรรม พร้อมเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิงได้
  8. การจัดหาทุนการศึกษาสำหรับเด็กกำพร้า โดยอาจารย์วิบูลย์  มุขตารี ต่อยอดจากอาจารย์        ประสาน  ศรีเจริญ โดยคัดเลือกเยาวชนจากหน่วยสอบ ๆ ละ ๑ คน 
  9. การกำหนดหลักสูตรการศึกษาสำหรับผู้ต้องขังในทัณฑสถานในเรือนจำจังหวัด         สงขลา
  10. สนับสนุนงบประมาณแก่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดสงขลา จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท (ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๒) พร้อมการสนับสนุนตำราเรียนสำหรับผู้เรียนตามความประสงค์
  11. การจัดหาทุนสำหรับผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์จากผู้ใจบุญซึ่งดำเนินการมาทุกปี จำนวน ๔  ทุน (ฮัจย์ ๓ อุมเราะห์ ๑)
  12. รณรงค์ในการสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมฯ และชำระค่าบำรุง รายปี ๆ ละ ๑๐๐ บาท
  13. ตั้งหน่วยสอบที่ ๘๕  กลุ่มคลองสามวา (เดิมสังกัดหน่วยสอบที่ ๔๐)   
  14. การจัดงานเขตการศึกษาทุกเขตการศึกษา   
  15. ฟื้นฟูหน่วยสอบที่ ๖๐  เชียงใหม่               
  16. การอบรมผู้ต้องขังหลักสูตรสมาคมฯ ที่เรือนจำอำเภอนาทวี   
  17. ดำริการทำ Website สมาคมฯ  โดย อาจารย์เฉลิม  ผ่องใส  / อาจารย์มาโนช  เกียรติธารัย / อาจารย์สมยศ  หวังอับดุลเลาะ / อาจารย์วิชัย  อาจหาญ / อาจารย์เอกอมร    เชื้อผู้ดี
  18. การดำเนินงานของมุอั้ลลีมี่ทีวีเพื่อสื่อสารสาระสู่ครอบครัวคุรุสัมพันธ์  (ปี ๒๕๖๒ -๒๕๖๓)
  19. วางแผนการทำจดหมายข่าวของสมาคมฯ โดย อาจารย์สมยศ  หวังอับดุลเลาะ
  20. จัดพิมพ์ตำราทางวิชาการ วิชา ตรรกศาสตร์อิสลาม โดย อัลมัรฮูมอาจารย์อับดุลการีม วันแอเลาะ แต่ต่อมาให้ชลอการดำเนินการจัดพิมพ์ไว้ก่อน
  21. มอบทุนเด็กกำพร้า  ทุนละ ๓,๐๐๐ บาท  จำนวน ๖๕  ทุน จัดหาหาทุนโดยอาจารย์ประสาน       ศรีเจริญ  และอาจารย์วิบูลย์   มุขตารี         
  22. นายกชี้แจงข้อวิพากษ์วิจารณ์ตำราเรียนชั้นปีที่ ๕ ว่ายังถูกต้อง มั่นคงและดำรงอยู่ต่อไป
  23. มอบทุนฮัจย์ ๒ ทุน โดย อาจารย์อนุรักษ์  วันแอเลาะ และ อาจารย์ปรีชา  มุสตาฟา
  24. จัดสวัสดิการแก่สมาชิกที่ป่วยและเสียชีวิตตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมฯ กำหนด
  25. จัดประชุมกรรมการบริหารสมาคมฯ หัวหน้าเขต หัวหน้าหน่วยสอบ เพื่อขับเคลื่อนการบริหาร     จัดการการศึกษาร่วมกัน ปีละ ๑ ครั้ง (การประชุมไตรภาคี)
  26. กำหนดการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรฟัรดูกิฟายะห์สำหรับหน่วยสอบ / โรงเรียนที่มี    ศักยภาพในการบริหารจัดการ
  27. ยกเลิกการแต่งตั้งหัวหน้าคุมสอบ เพราะมีความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการของหน่วยสอบ     และบุคลากรทางการศึกษา  (มติการประชุมไตรภาคี)
  28. สมาคมฯ มีสำนักงานถาวร ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามประจำจังหวัดนนทบุรีเฉลิม   พระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา เลขที่ ๑๑๑ หมู่ที่ ๒ ถนนชัยพฤกษ์ ตำบลละหาร อำเภอ   บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๑๑๑๐
  29. รณรงค์ระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนเด็กกำพร้า
  30. ดำเนินการสานต่อในการขอความอนุเคราะห์จากองค์กร หน่วยงาน หรือผู้มีจิตศรัทธาเพื่อมอบ                           โอกาสแก่ครูในสังกัดสมาคมฯ ได้มีโอกาสไปประกอบพิธีฮัจย์
  31. รณรงค์ระดมทุนด้วยการขออนุเคราะห์จากผู้ปกครองครอบครัวละ ๒๐ บาทเพียงครั้งเดียว       เพื่อตั้งเป็นงบประมาณของสมาคมฯ สำหรับเขตการศึกษาเพื่อซ่อมแซมอาคารเรียน ต่อมามี    การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์เป็นการสนับสนุนเขตการศึกษาเพื่อการจัดอบรมสัมมนาตาม       ดุลยพินิจของกรรมการบริหารเขตการศึกษา ซึ่งสมาคมฯ พิจารณากำหนดจากจำนวนนักเรียน   ที่เข้าสอบ และมอบให้เขตการศึกษาบนฐานเดียวกัน และส่วนหนึ่งจากงบประมาณนี้ยังใช้จ่าย      เป็นสวัสดิการแก่มวลสมาชิกที่ป่วยและเสียชีวิต ซึ่งไม่มีส่วนเหลือใด ๆ สำหรับสมาคมฯ
  32. โครงการ “จากเรือนจำสู่สวรรค์” กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ต้องขัง ๓ เรือนจำ ประกอบด้วย
    1. ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง (ปทุมธานี)        จำนวน  ๓๐๐  คน
    2. เรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร            จำนวน  ๓๕๐  คน
    3. ทัณฑสถานหญิงกลาง (คลองเปรม)        จำนวน  ๓๕๐  คน
    4. รวม            ๑,๐๐๐  คน
    5. ใช้เวลา  ๑๐  วัน ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสถานทูตซาอุดิอารเบียประจำประเทศไทย จำนวน  ๒๑๐,๐๐๐  บาท (อยู่ในช่วงเวลานายกรักษาการ)